สัมนา “การแปลพระคัมภีร์” วันที่ 13 มิถุนายน 2009 เวลา 8:30 – 16.00 น. ณ CCT กรุงเทพฯ
หัวข้อในการสัมนาครั้งนี้ประกอบด้วย
- วิวัฒนาการการแปลพระคัมภีร์ไทย โดยอ.ทองหล่อ วงศ์กำชัย
- ปรัชญาการแปลและคำเปรียบเทียบ โดย Dr. Annie del Corro
- พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ “คิงเจมส์” โดย Dr. Stephen Pattemore
- การแปลคำต่างๆ ที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย และคำต่างๆ ที่มีรูปที่เหมือนกันและเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน โดย Dr. Joseph Hong
- วิวัฒนาการของภาษา โดย อ.ปัญญา โชชัยชาญ
- คุณสมบัติของผู้แปลพระคัมภีร์และการเตรียมตัวเป็นผู้แปลในอนาคต โดย ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย
วิวัฒนาการการแปลพระคัมภีร์ไทย โดยอ.ทองหล่อ วงศ์กำชัย
- วิวัฒนาการการแปลพระคัมภีร์ไทย
- ยุคก่อนการแปลพระคัมภีร์ไทย
- การแปลเอกสารคำสอนครั้งแรกในไทย คศ. 1662 โดยนิกายโรมันคาธอลิค สมัยพระนารายณ์ ต้นฉบับเก็บอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
1.2 การแปลพระคัมภีร์ไทยครั้งแรก คศ. 1819 นางแอนนา จัดสันอยู่กับคนงานไทยในพม่า เริ่มจากแปลบทเรียนพิมพ์ที่ประเทศอินเดีย
- การแปลพระคัมภีร์ไทยของนิกายโปรแตสแตนท์
- ศตวรรษที่ 19 ยุคแห่งการแปลพระคัมภีร์
- NT
- คศ. 1834 พิมพ์ลูกา ที่ประเทศสิงค์โปร์ โดยดร. คาร์ล กู๊ดสลาฟ และศจ.จาคอบ ทอมลินท์
- คศ. 1843 พิมพ์ NT โดยคณะอเมริกันแบ็บติสต์
- คศ. 1842 พิมพ์กิตติคุณทั้งสี่ในประเทศไทย
- คศ.1850 แปลกิตติคุณ โดยคณะเพรสไบทีเรียนพิมพ์ที่ประเทศสหรัฐ
- คศ. 1850 แก้ไขและจัดพิมพ์โดยสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกา ที่ประเทศไทย
- OT
- คศ. 1883 สมาคมพระคริสต์ธรรมอเมริกาและคณะมิชชั่นทำงานแปลเสร็จเริ่มแปลเมื่อ คศ. 1860
- คศ. 1889 ตั้งสำนักงานสมาคมพระคริสต์ธรรมในประเทศไทย
- ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งการแก้ไขคำแปล
- ครั้งที่ 1 พิมพ์เสร็จในคศ. 1940 เริ่มเมื่อ คศ. 1920
- ครั้งที่ 2 พิมพ์เสร็จในคศ. 1971 เริ่มเมื่อคศ. 1954 และฉบับประชานิยม พิมพ์เสร็จในคศ. 1984 เริ่มเมื่อคศ. 1963
- พิมพ์เสร็จครั้งที่ 3 ในคศ. 2002 เริ่มเมื่อคศ.1997
- เหตุผลของการแปลพระคัมภีร์หลายฉบับและการแก้ไขคำแปล
- การแปลหลายฉบับ
- ขาดการประสานงานร่วมมือกัน
- ความคิดเห็นในแนวศาสนศาสตร์ที่ไม่ตรงกัน
- เป้าหมายและหลักการแปลที่แตกต่างกัน
- การแก้ไขคำแปล
- การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
- มีการแปลที่ไม่ถูกต้อง
- มีการแปลที่ไม่ชัดเจนและอ่านเข้าใจยาก
- ลักษณะของกลุ่มผู้อ่านที่เปลี่ยนแปลงไป
ปรัชญาการแปลและคำเปรียบเทียบ โดย ดร.แอนิเซีย เดล โครโร
- ปรัชญาและศาสนศาสตร์ของการแปล
- ด้านปรัชญา-มนุษย์ต้องสัมพันธ์กับผู้อื่น เมื่อมนุษย์ใช้ภาษาที่ต่างกัน การแปลจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- ด้านศาสนศาสตร์-พระเจ้ามีพระประสงค์ให้เราเข้าใจพระองค์และเพราะพระวจนะได้มีอยู่ในภาษาต่างชาติคือ ฮีบรูและกรีก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการแปลพระวจนะของพระเจ้าให้เป็นภาษาที่คนชาติอื่นๆ เข้าใจได้
- ทฤษฎีว่าด้วยระบบการสื่อสาร
- มนุษย์ใช้ประโยชน์จากระบบที่มีอยู่เพื่อแยกแยะ กำหนดสิ่งต่างๆ เพื่อเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้
- ระบบได้กำหนดเป็นเครือข่ายของสิ่งที่มีปฎิกิริยาต่อกันอย่างสัมพันธ์กัน โดยมีการจัดให้เป็นระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกัน
- ความคิดเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานของทฤษฎีนี้
- หลักการการแปลข้อความที่เป็นสำนวนให้เกิดความเข้าใจ พื้นฐานของระบบ
- ให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง คือ แต่ละคนจะเข้าใจโลกของเขาตามที่ร่างกายของเขาถูกสร้างขึ้นมา และตามอย่างการทำงานของเขา เช่น ข้าวตั้งท้อง นาฬิกาตาย อสย.66:8 แผ่นดินจะเกิดในวันเดียวหรือ
- อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเป็นระบบพื้นฐานในการแยกแยะส่สนต่างๆ ของวัตถุหรือเหตุการณ์ เช่น ขาเก้าอี้ หัวตะปู ตีนเขา 1คร.11:3 พระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคน
- ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นคำที่ใช้อธิบายเช่น การมองเห็น ความตั้งใจ โยบ.20:12 แม้ว่าความอธรรมจะหวานในปากของเขา
- ข้อสรุปที่น่าสนใจจากการวิเคราะห์คำศัพท์ที่สื่อออกมาภายใต้ระบบประสาทสัมผัส
- คุณภาพทางศีลธรรมแยกเป็นกลุ่มสีหรือความเข้มของความสว่าง เช่น แม้บาปจะแดงก่ำ....ขาวอย่างหิมะ
- ความซับซ้อนเปรียบเทียบด้วยความลึก เช่น 1คร.2:10 พระวิญญาณหยั่งรู้ทุกสิ่งแม้ความลึกของพระเจ้า
- สิ่งที่คุ้นเคยกับระยะทาง เช่น โยบ.19:13 พระองค์ทรงให้พี่น้องของข้าห่างไกล
- ความชอบธรรมกับเส้นตรง เช่น สดด.5:8 ทำทางซึ่งข้าพระองค์เดินนั้นให้ตรง
- ความพอใจกับพื้นผิว เช่น สดด. 30:10 จงพูดสิ่งที่นุ่มนวลแก่เรา
- ความเครียดกับน้ำหนัก เช่น สดด. พระหัตถ์ของพระองค์หนัก อยู่บนข้าพระองค์ทั้งวันทั้งคืน
- ความสำคัญกับขนาด เช่น กดว.16:13 เป็นการเล็กน้อยอยู่หรือที่ท่านนำ
- ความเสื่อมกับการตกระดับลง เช่น สภษ.11:14 ที่ไหนไม่มีการนำ ที่นั่นประชาชนก็ล้มลง
- ระบบอื่นๆ
- ชีวิตของพืช เช่น สภษ.12:12 แต่รากของคนชอบธรรมตั้งมั่นคงอยู่
- ระบบครอบครัว เช่น ยรม.31:9 เพราะเราเป็นบิดาแก่อิสราเอล
- วงจรรอบวัน เช่น ฉธบ. 29:24 พระพิโรธอันร้อนแรง
พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ “ คิงเจมส์” โดยดร.สตีเฟ่น แพทมอร์
- เบื้องหลังพระคัมภีร์บับ “คิงเจมส์”
- ประวัติการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาอังกฤษ
- เริ่มจากศต.ที่ 7 มีภาษษอังกฤษเขียนแทรกระหว่างบรรทัด สมัยก่อนการรุกราน “นอร์มัน”คศ.1066 ถูกเปลี่ยนภาษาอังกฤษเป็นภาษาฝรั่งเศส
- จอห์น วิกคลิฟ 1330-1384 แปลตรงตัวจากภาษาลาตินฉบับวอเกต
- ยุคฟื้ฟูศิลปะและวิทยาการ
- คศ. 1450 เกิดแท่นพิมพ์ กูส เซ็นเบอร์ด โยฮัน
- คศ. 1455 พิมพ์ พระคัมภีร์ ครั้งแรก
- คศ. 1488 พิมพ์ พระคัมภีร์ ภาษาฮีบรู เอราสมุส รวบรวม พระคัมภีร์ ภาษากรีก
- คศ. 1516 พิมพ์ พระคัมภีร์ ภาษากรีก สตาฟานุสแก้ไขกรีกของเอราสมุส
- การปฎิรูปศาสนา “โปรแตสแตนท์” โดยมาร์ติน ลูเธอร์
- คศ. 1517 ท้าทายอำนาจสันตะปาปา
- คศ. 1521 ถูกอเปหิจากคาธอลิก
- คศ. 1522 พิมพ์ พระคัมภีร์ ภาษาเยอรมัน
- คศ. 1534 พิมพ์ พระคัมภีร์ ทั้งเล่มเป็นภาษาพื้นๆ
- ประวัติประเทศอังกฤษในศตวรรษที่ 16-17 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 (1509-1547) ตั้ง Church of England ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา
- วิลเลี่ยม ทินเดลและพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ หนีกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ไปฮอลแลนด์
- คศ. 1526 ได้พิมพ์ พระคัมภีร์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยอาศัยภาษากรีกของเอราสมุสตั้งแต่คศ.1519
- คศ. 1530 แปลเบญจบรรณ
- คศ. 1535 มี พระคัมภีร์ ทั้งเล่ม
- คศ. 1537 แก้ไขมัทธิว
- คศ. 1539 พิมพ์ พระคัมภีร์ เล่มใหญ่ถือคนเดียวไม่ได้ แจกโบสถ์ละหนึ่งเล่ม
- พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 16
- คศ. 1560 ฉบับเจนีวาแปลโดยคณะกรรมการได้รับการยอมรับมาก
- คศ. 1568 ฉบับบิชอบแก้ไขเป็นทางการ
- ขั้นตอนการแก้ไข ให้สร้างฉบับคิงเจมส์
- คศ. 1604 กษัตริย์เจมส์เรียกประชุมแบ่งกรรมการ 6 คณะประกอบด้วย 47 คน พิมพ์ 40 เล่มไม่เย็บปก เพื่อให้เขียนแก้ไขบนข้างกระดาษได้ แลกเปลี่ยนระหว่างคณะดูภาษากัน
- คศ. 1608 ทุกกรรมการทำเสร็จ
- คศ. 1609 ตรวจทาน
- คศ. 1611 จัดพิมพ์ครั้งแรก
- หลักการแปลพระคัมภีร์ฉบับคิงเจมส์
- เป็นการแก้ไขปรับปรุงมากกว่าการแปลใหม่
- ยอมรับว่า ทำไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง แต่ยังอ้างตัวว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า
- ยืนยันว่าการตรวจและเปรียบเทียบการแปลแต่ก่อน เพื่อทำให้ดีขึ้นเป็นวิธีที่ดี
- ทำด้วยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชื่ยวชาญมากพอสมควร
- อาศัยต้นฉบับทั้งภาษาฮีบรูและกรีก
- ใช้เวลาในการตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก
- ยอมรับว่าความรู้เกี่ยวกับภาษาเดิมและสภาวะแวดล้อมเดิมมีขอบเขตจำกัด เลยใช้คำอธิบายที่ขอบของหน้ากระดาษ
- ติดตามความหมายของคำในบริบทและความสละสลวยของภาษา ไม่บังคับให้ทุกคำในภาษาเดิมต้องแปลเป็นคำเดียวในภาษาอังกฤษ
- หลีกเลี่ยงการใช้ทั้งคำใหม่ๆ และคำเก่าๆ
- อื่นๆ เช่น ทุกบทมีคำนำ ทุกข้อมีย่อหน้าใหม่ จบเล่มเขียนอธิบาย ใช้คำอธิบายที่ขอบกระดาษ หากเพิ่มจากกรีกจะทำตัวงเล็ก
- หลังจากพระคัมภีร์ฉบับคิงเจมส์
- การแก้ไขในคศ. 1769 เนื่องจากภาษาค่อนข้างล้าสมัย แปลโดยไวยากรณ์ของภาษาเดิม ผู้แปลไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน แต่ได้รับตำแหน่งเป็นการสนับสนุน 50 ปีต่อมาได้รับการใช้มากกว่าฉบับเจนีวา
- การแก้ไขในคศ. 1885 ภาษามีการเปลี่ยนแปลง รักษาสำนวนของคิงเจมส์ไว้ อาศัยสำเนาเก่า แบ่งย่อหน้า แปลตามตัวอักษร
- พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 20
- คศ. 1901 ASV
- คศ. 1952 RSV
- คศ. 1970 NASD
- คศ. 1982 NKJV
- คศ. 1989 NSSV
- คศ. 2000 ESV
การแปลคำต่างๆ ที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย และคำต่างๆ ที่มีรูปที่เหมือนกันและเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน โดย ดร.โยเซฟ ฮอง
- Polysemy หมายถึงคำที่มีความหมายหลายอย่าง
- และไม่มีภาษาคู่ใด่ที่มีวิธีการวิเคราะห์ สังเกตที่เหมือนกันให้ค่ากำหนดที่เหมือนกัน ทำให้การแปลเป็นงานที่กังวลใจ
- นิยามความเชื่อและความศรัทธาใน NT แปลออกมาได้ยาก
- ตัวอย่างใน NT
- คำว่า “Adelphos” (อเดลฟอส) แปลได้ว่า พี่น้อง, พี่น้องในความเชื่อ, เพื่อนร่วมชาติ, เพื่อนบ้าน
- คำว่า “Sarx” (ซาร์ก) แปลได้ว่า ร่างกายที่เกิดจากพ่อแม่, ความอ่อนแอของเนื้อหนังที่ทำให้มนุษย์ทำบาป, เพื่อนร่วมชาติ, เนื้อสำหรับเป็นอาหาร
- คำว่า “Dikaiosune” (ดีไคยโอซูนี) Righteousness แตกต่างกันเล็กน้อยหลายๆ ความหมาย
- คำว่า “Pneuma” (นิวมา) แปลได้ว่า วิญญาณหรือจิตใจ, ลมหายใจ, ลม ชีวิต, ผี
- ตัวอย่างใน OT
- คำว่า “Yad” (ยาด) แปลได้ว่า มือ, ข้าง, อนุสาวรีย์หรือเสา, อวัยวะสืบพันธุ์ของมนุษย์, กำลังหรืออำนาจ, ควบคุมหรือสิทธิอำนาจ, ฤทธานุภาพในการช่วยกู้ของพระเจ้า, อำนาจในการลงโทษของพระเจ้า, การพิพากษาของพระเจ้าที่มอบไว้ในมือของศัตรู,
- คำกิริยาว่า “yada” (ยาดา) แปลได้ว่า รู้จักและมีความรู้ , การมีสัมพันธ์ทางเพศ
- การแปลประโยคที่มีการเล่นคำ การสัมผัส เช่น อพย. 24:21-22, อมส.8:2
- การแปลคำที่มีเสียงเหมือนกันไปยังภาษาที่สอง เช่น 1ซมอ.15:22
วิวัฒนาการของภาษา โดย อ.ปัญญา โชชัยชาญ
- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลและการแก้ไขคำแปล
- กระบวนการแปลจาก Bible Manuscript-Source Language ไป Thai Bible – Receptor’language
- กระบวนการแก้ไข TB ไป RTB (Revised)
อ่านตรวจทานกับ BM และเปรียบเทียบอื่นๆ เช่น NRS, NIV, Other Standard Version แก้ไขสำนวนภาษาให้ตรงกับภาษาโบราณ
Draft 1 ไป Cross-checker(1) ไป Revise Committee(24) ไป
Draft 2 ไป UBS Consultant(1) ที่ปรึกษาสมาคม
Draft 3 ไป Stylists (5) นักลีลาภาษา ไป Reviser ไป
Draft 4 ไป Type setter (1) จัดเรียงพิมพ์ ไป Reviser ไป
Final Draft ไป Revise(1) อ่านตรวจทานอีกรอบเพื่อความถูกต้อง ไป
Pre Publication Draft ไป RTB
- ปัญหาและอุปสรรคในการแปล
- Pronoun เรา , ท่าน เอกพจน์บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 เอกพจน์
- คำราชาศัพท์ กิริยาราชาศัพท์ถ้ามีอยู่แล้ว ต้องไม่ใช้ทรง บางครั้งใช้ราชาศัพท์ไม่ได้
- ความหมายไม่ชัดเจน
- คำศัพท์ปรากฎครั้งเดียว สภษ.29:21
- คำศัพท์ไม่เข้าบริบท สดด.22:29
- ความไม่ชัดเจนในการทำหน้าที่ของคำในประโยค สดด.127:2
- ความไม่ชัดเจนเมื่อแปลตามตัวอักษร สภษ.21:28
คุณสมบัติของผู้แปลพระคัมภีร์และการเตรียมตัวเป็นผู้แปลในอนาคต โดย ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย
- คุณสมบัติของผู้แปลพระคัมภีร์
- ต้องเป็นคนมีวิธีคิดที่ยืดหยุ่น
- เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
- เป็นนักสื่อสารที่ดี ทำสิ่งยากให้เป็นเรื่องง่าย ตีความถูกต้อง กระชับ เข้าใจศัพท์ของภาษาเดิม แต่คำนึงถึงผู้รับสารในภาษาปัจจุบัน ทำให้เกิดความชัดเจนไม่กำกวม
- สามารถทำงานเป็นทีม ในขณะเดียวก็ทำงานตามลำพังได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และยินดีทำงานซ้ำหลายครั้ง
- จบโทหรือเอกทางพระคริตสธรรมคัมภีร์
- มีความรู้ภาษาไทย อังกฤษ กรีก และฮีบรู
- ทำไมต้องมีการเตรียมผู้แปลในอนาคต เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ตาย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ พระธรรมลูกาเป็นเล่มแรกที่ถูกแปลเมื่อคศ. 1834 ทั้ง OT และ NT เสร็จสมบรูณ์เมื่อคศ. 1940 ยกร่างคำแปลเป็นฉบับ 1971 ต่อมายกร่างคำแปลอีก เริ่มจากปี 1997 คาดว่าจะเสร็จปี 2010
- บทบาทของวัฒนธรรม เนื่องจากเน้นความเท่าเทียมกับของชายและหญิง สรรพนามจึงต้องเปลี่ยนไปในกรณีพูดถึงคนส่วนใหญ่ เช่น NRSV, TNIV ใช้ they แต่ RSV, NIV ใช้ he/she
- บริบทของผู้เขียนและผู้อ่าน เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจพระวจนะของพระเจ้า เช่น ภาษาฮีบรู คำว่า “เฮเล็ด” จงรักภักดี ปฐก. 20:13, ความรัก ใน อพย.20:6, สภษ. 3:3 ใช้ความชอบธรรม
- เตรียมตัวอย่างไร
- สมัครเข้าเรียนปริญญาโทในโรงเรียนที่มีการสอนภาษากรีกและภาษาฮีบรู
- สามารถสอบ TOEFL ได้คะแนนระดับสูง
- ฝึกอ่านพระคัมภีร์อังกฤษ Version ต่างๆ
- อาสาสมัครร่วมอ่านทานการยกร่างคำแปลกับสมาคม
- เข้าร่วมสัมนาเกี่ยวกับพระคัมภีร์ในโอกาสต่างๆ
- อ่านบทความทางวิชาการให้มากขึ้น
- หัดแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
- หาคนสนับสนุนทั้งด้านการเงินและการอธิษฐาน Back